เมนู

ภยโลมหํสนํ บังเกิดพระโลมาพองสยดสยองพระเศียร พระทัยนี้เปลี่ยน ๆ ปิ่มประหนึ่งจะทะลึ่ง
ประลาตหนีไป เสยฺยถา จะมีครุวนาฉันใด อุปไมยเหมือนมนุษย์อันเห็นยักขินีผีเสื้อ เหมือน
กวางเห็นเสือ เหมือนมฤคีหมู่เนื้ออันเห็ฯสีหราชชาติไกรสร เหมือนพระจันทร์ล้อมด้วยดาวดา-
รากรเยื้องรถพิมานจรจะพบอสุรินทราชราหู เหมือนวิฬาร์กับหนูเหมือนทีฆชาตินาคงูแลเห็นครุฑ
สุดที่จะกลัวตัวสั่นฉันใด พระเจ้ากรุงมิลินท์ปิ่นพิภพเวียงชัย ทอดพระเนตรเห็นพระนาคเสนแต่
ไกลวันนั้นก็กลัวปานกัน น้ำพระทัยนี้ครั่น ๆ จิตฺตํ น สณฺฐติ พระทัยนี้ไหวหวั่นตั้งมั่นลงมิได้
น้ำพระทัยดำริว่า โอ้อาตมานี้แต่อวดดีมานี้ก็นาน หาผู้จะต่อต้านมิได้ ปราชโย อาตมานี้จะถึง
ปราชัยหักลงไปวันนี้เป็นมั่นคง เตนาหุ โปราณา เหตุดังนั้นพระอาจารย์ผู้ประเสริฐเกิดในก่อน
จึงกล่าวเป็นนิคมคาถาไว้ว่า
จรเณนปิ สมฺปนฺนํ สุทนฺตํ อุตฺตเม ทเม
ทิสฺวา ราชา นาคเสนํ อิทํ วจนมพฺรวิ
กถิกา มนา หพู ทิฏฺฐา สากจฺฉา โอสฏฺฐา พหู
น ตาทิสํ ภยํ โหติ อชฺช ตาโส ยถา มม
นิสฺสํสยํ ปราชโย มม อชฺช ภวิสฺสติ
ชโย จ นาคเสนสฺส ยถา จิตฺตํ น สณฺฐิตนฺติ

ใจความในพระคาถาเหมือนที่วิสัชนามาแล้ว พาหิราจริยากถา วิสัชนาด้วยพระเจ้า
มิลินท์ถามอาจารย์ทั้งปวงภายนอกมีอาจารย์ปูรณกัสสปเป็นต้นมีพระอายุบาลเป็นปริโยสานที่สุด
ยุติแต่เท่านี้

วัญจนปัญหา


อถ โข กาเล

ในกาลนั้นแท้จริง อายสฺมา นาคเสโน พระนาคเสนผู้มีอายุนั่งอยู่ในที่ใด
พระยามิลินท์ก็เข้าสู่สถานที่นั้น อุปสงฺกมิตฺวา ครั้นเข้าไปใกล้แล้ว บพิตรเจ้าจึงกล่าวซึ่งสัมโมท-
นียกถา ควรจะลึกสิ้นกาลช้านาน นิสีทิ แล้วก็ทรงนิสัชนาการนั่งในที่สมควรข้างหนึ่ง
ฝ่ายพระนาคเสนผู้มีอายุ ก็สนทนาด้วยถ้อยคำเป็นที่ยังจิตแห่งพระยามิลินท์ให้ชื่นชม
โสมนัสปสันนาการ
สมเด็จบรมกษัตริย์พระเจ้ามิลินท์ จึงทรงปุจฉาซึ่งอรรถปัญหาประถมว่า ภนฺเต

นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้จำเริญ สมุลฺลเปตุกาโม โยมนี้ปรารถนาจะใคร่เจรจาด้วยพระผู้
เป็นเจ้า
พระนาคเสนจึงว่า มหาราช ดูกรบพิตรผู้ประเสริฐ บพิตรจงเจรจาไปเถิด อาตมภาพ ก็
ปรารถนาจะใคร่ฟัง
พระยามิลินท์จึงมีพระวาจาว่า สมุลฺลปิโต สุณาหิ ข้าพเจ้าเจรจาแล้ว พระผู้เป็นเจ้า
จงฟังเอาเถิด
พระนาคเสนจึงว่า สูโณมิ อาตมภาพฟังแล้ว
พระยามิลินท์จึงว่า พระผู้เป็นเจ้าว่าฟังแล้วได้ยินอย่างไร
พระนาคเสนจึงว่า ก็บพิตรว่าเจรจาแล้วนั้นเจรจาอย่างไรเล่า
พระยามิลินท์จึงว่า ข้าพเจ้าจะถามพระผู้เป็นเจ้า
พระนาคเสนจึงว่า ปุจฺฉ มหาราช ดูกรบพิตร พระองค์จะถามก็ถามเถิด
ปุจฺฉิตํ ภนฺเต ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าผู้เจริญ ข้าพเจ้าถามแล้ว
สุวิสฺสชฺชิตํ มหาราช ดูกรบพิตรผู้ประเสริฐ อาตมาก็วิสัชนาแล้ว
กึ วิสฺสชฺชิโต พระผู้เป็นเจ้าวิสัชนาอย่างไร
กึ ปุจฺฉิโต ก็บพิตรถามอาตมภาพอย่างไรเล่า
เอวํ วุตฺเต ในเมื่อพระยามิลินท์และพระนาคเสนปุจฉาวิสัชนากันดังนี้แล้ว ชาวโยนก
ห้าร้อยก็พากันให้สาธุการแก่พระนาคเสน แล้วจึงกราบทูลแก่พระยามิลินท์ว่า มหาราช ข้า
แต่สมเด็จบรมบพิตรผู้ประเสริฐ ขอเชิญพระองค์ทรงปุจฉาซึ่งอรรถปัญหาแก่พระนาคเสนต่อไป
ในกาลบัดนี้

ปฐมวรรค


นามปัญหา ที่ 1


อถ โข มิลินฺโท ราชา

ในกาลครั้งนั้น สมเด็จพระเจ้ามิลินท์จึงทรงปุจฉาซึ่งปัญหายิ่งขึ้น
ไปว่า ธรรมดาว่าบุคคลอันสนทนากัน ถ้าไม่รู้จักนามและโคตรแห่งกันและกัน ถ้อยคำอันบัง
เกิดขึ้นแต่ชนทั้งสองนั้นมิได้ถาวรตั้งมั่น เหตุดังนี้เราทั้งสองจะต้องรู้จักกันเสียก่อน กินฺนาโมสิ
พระผู้เป็นเจ้าชื่ออะไร
พระนาคเสนจึงถวายพระพรว่า นาคเสโนติ สมุทาจรนฺติ เพื่อนพรหมจรรย์ท่านร้อง
เรียกชื่อของอาตมภาพว่านาคเสน ประการหนึ่งโสด มารดาบิดาท่านให้ชื่อแก่อาตมภาพหลาย
ชื่อ คือชื่อว่านาคเสน 1 ชื่อว่าวีรเสน 1 ชื่อว่าสุรเสน 1 ชื่อว่าสีหเสน 1 ข้อซึ่งมีนามชื่อว่า
นาคะนั้นด้วยอรรถว่า อาคุํ ปาปกมฺมํ น กโรตีติ นาโค แปลว่า บุคคลผู้ใดมิได้กระทำซึ่งกรรม
อันลามก บุคคลผู้นั้นชื่อว่านาคะ ซึ่งมีนามชื่อว่าเสนะนั้น ด้วยอรรถว่าเป็นที่พำนักหมอบกราบลง
แห่งบุคคลอันยอมตนเป็นศิษย์มาศึกษาเล่าเรียน ชื่อว่าวีระนั้นด้วยอรรถว่ามีความเพียรมิได้
ย่อหย่อน ชื่อว่าสุระนั้นด้วยอรรถว่าองอาจรปราศจากภัยมิได้ครั่นคร้ามในท่ามกลางบริษัท ชื่อ
ว่าสีหะนั้นด้วยอรรถว่าเป็นที่ยำเกรงแก่นักปราชญ์ทั้งหลายอื่น ดุจดังว่าพระยาไกรสรราชสีห์
อันเป็นที่เกรงกลัวแก่หมู่มฤคชาติทั้งปวง และเสนศัพท์นั้น มีอรรถเหมือนดังวิสัชนาแล้วในนาม
เบื้องต้น คือนาคเสนนั้น สา สงฺขาตสมญฺญา อันว่ากล่าวซึ่งชื่อทั้งปวงดังนี้ เป็นสมมุติโวหาร
อันโลกทั้งปวงหากตั้งไว้ จะมีสัตว์มีบุคคลเป็นที่ตั้งแห่งมานทิฐิถือมั่นว่า อหํ มมํ ในชื่อ
ทั้งปวงนั้นโดยปรมัตถ์หามิได้
อถ โข มิลินฺโท ราชา ในกาลนั้น สมเด็จพระเจ้ามิลินท์จึงร้องประกาศแก่ชาวโยนก
ห้าร้อยและพระภิกษุสงฆ์แปดหมื่นว่า สุณนฺตุ เม โภนฺโต ชาวโยนกห้าร้อยและพระภิกษุสงฆ์
แปดหมื่นจงฟังถ้อยคำแห่งพระนาคเสนบอกแก่ข้าพเจ้าว่า เพื่อนพรหมจรรย์ท่านเรียกอาตมภาพ
ว่านาคเสน จะมีสัตว์มีบุคคลในชื่อนั้นโดยปรมัตถ์หามิได้ สเจ ภนฺเต สตฺโต นตฺถิ ข้าแต่พระ
นาคเสนผู้จำเริญ ถ้าสัตว์และบุคคลไม่มีเหมือนดังคำของพระผู้เป็นเจ้าว่าแล้ว ไฉนเลยทายกที่ได้
ถวายจตุปัจจัยแก่พระนาคเสนจะได้กุศลผลบุญเล่า ผู้ใดผู้หนึ่งคิดว่าจะฆ่าพระนาคเสนผู้เป็นเจ้า
เสีย ถ้าเขาจะฆ่าเสียจะได้บาปกรรมอะไร โยมเห็นว่าจะเปล่าไปเหมือนชื่ออันบัญญัติเปล่า อนึ่ง
คฤหัสถ์และบรรพชิตเรียกชื่อกัน ย่อมสรรเสริญนินทากันว่าผู้นั้นดีผู้นั้นชั่วเล่า ก็เห็นว่าเปล่า ๆ
ทั้งนั้น เหตุเป็นนามบัญญัติเปล่า ประการหนึ่งเล่า เหมือนทายกทั้งหลายเขาถวายจตุปัจจัย
แก่พระผู้เป็นเจ้า ก็ใครเล่ารับจีวรที่ทายกให้ ใครเล่ารับบิณฑบาตที่ทายกให้ ใครเล่ารับสื่อสาร